อีกหนึ่งอุปกรณ์สำคัญที่มักพบเจอได้บ่อยมาในโรงงานอุตสาหกรรมแทบทุกประเภทไปจนถึงงานก่อสร้าง งานในระบบขนส่งโลจิสติกส์ต่าง ๆ ต้องยกให้กับ “ปั๊มไฮดรอลิค” ตัวช่วยในการปั๊มเพื่อดึงเอาของเหลวชนิดต่าง ๆ ไปตามเส้นทางที่ได้ทำเป็นท่อเอาไว้ เพิ่มความสะดวกและประโยชน์ได้มากเยอะมาก จึงอยากพาทุกคนมาทำความรู้จักกับอุปกรณ์ชนิดนี้ให้มากขึ้นกว่าเดิมไม่ว่าแวดวงไหนก็อาจต้องใช้งานได้เช่นกัน
หลักการทำงานเบื้องต้นของปั๊มไฮดอรลิค
ปั๊มไฮดรอลิค คือ อุปกรณ์ประเภทหนึ่งที่ใช้พลังงานเชิงกลด้วยวิธีแปลงพลังงานกลสู่พลังงานไฮดรอลิค (พลังงานไฮโดรสสแตติก เช่น แรงดัน การไหล) ภายใต้หลักการสำคัญด้วยวิธีสร้างกระแสที่มีพลังเพียงพอต่อการเอาชนะแรงดันอันเกิดจากการโหลดบริเวณทางออกของตัวปั๊ม เมื่อระบบของปั๊มไฮดรอลิคทำงานจะเกิดสุญญากาศตัวปากทางเข้าตัวปั๊มเพื่อดึงเอาของเหลวจากจุดหนึ่งเข้าสู่ท่อไปสู่ตัวปั๊ม เมื่อบวกกับการกระทำทางกลของเหลวดังกล่าวก็จะมุ่งหน้าสู่เส้นทางตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ก่อนจะเข้าสู่ขั้นตอนการใช้งานในลำดับต่อไป
ดังนั้นหากอธิบายแบบเข้าใจง่ายมากขึ้นการใช้งานปั๊มไฮดรอลิคจะมีการส่งถ่ายพลังงานกลผ่านของเหลวทำให้ระบบไฮดรอลิคทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งมีความสำคัญกับอุตสาหกรรมหลายประเภท เช่น เครื่องจักรสำหรับจับชิ้นงาน อุตสาหกรรมรถยนต์ทั้งการอยู่ในระบบเบรก เกียร์อัตโนมัติ การทำงานของรถแทรกเตอร์ โรงงานที่ต้องใช้แม่แรงไฮดรอลิค การทำงานของเครื่องจักรในงานก่อสร้าง และอื่น ๆ
ประเภทของปั๊มไฮดรอลิคที่นิยมในปัจจุบัน
1. ปั๊มไฮดรอลิคชนิดฟันเฟือง หรือ Gear Pump
หลายคนคุ้นเคยกับคำว่า “เกียร์ปั๊ม” อย่างดี เพราะนี่คือปั๊มไฮดรอลิคที่ได้รับความนิยมมากสุดสำหรับการนำมาใช้งาน มีขนาดกะทัดรัด น้ำหนักเบา ดูแลรักษาง่าย ระบบการทำงานภายในไม่ซับซ้อน สร้างแรงดันระดับ 210 – 250 บาร์ อัตราการไหลมักอยู่ตั้งแต่ 1 – 200 ซีซี / รอบ โดยมีจำนวนรอบ 600 – 4,000 รอบ / นาที เลยทีเดียว อย่างไรก็ตามปั๊มชนิดนี้ยังแบ่งแยกย่อยได้อีก 2 ประเภท คือ
- – เกียร์ปั๊มแบบเฟืองใน (Internal Gear Pump) ตัวเกียร์จะขบกันอยู่ด้านใน ทำให้น้ำมันไฮดรอลิคถูกส่งผ่านมาเพื่อเติมช่องว่างภายในให้เต็มจากนั้นปั๊มจะเริ่มทำงาน เฟืองกับโรเดอร์ผลักน้ำมันตอนจังหวะอัด ความเร็วและอัตราการไหลของเครื่องจึงค่อย ๆ เพิ่มขึ้น
- – เกียร์ปั๊มแบบเฟืองนอก (External Gear Pump) จะมีเกียร์ 2 ตัว โดยเฟืองของทั้งคู่ขบกัน มักใช้กับกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรม ราคาถูก ประหยัดต้นทุน โครงสร้างไม่ซับซ้อนมาก ดูแลง่าย
2. ปั๊มไฮดรอลิคชนิดใบพัด หรือ Vane Pump
จุดเด่นของปั๊มไฮดรอลิคชนิดนี้ต้องยกให้กับการมีความเร็วรอบสูงกว่าเกียร์ปั๊ม จึงได้อัตราการไหลสูง ปรับแรงดันต่ำถึงกลางได้ น้ำมันไฮดรอลิคถูกส่งผ่านยังช่อง In เพื่อเติมช่องว่างให้เกิดการหมุนตัวของปั๊มจากนั้นใบพัดก็ถูกดันออกเพื่อให้สัมผัสกับตัวเครื่องโดยแกนใบพัดจะติดเยื้องกับศูนย์กลางตัวเครื่องส่งผลให้ช่องว่างใบในแต่ละช่วงแตกต่างกัน พอเข้าสู่จังหวะการดูดช่องว่างจะขยายออกให้เกิดพื้นที่มากสุดพอถึงจังหวะอัดช่องว่างจึงลดลง ส่งผลให้ไร้เสียงดังรบกวน แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ
- – ปั๊มใบพัดค่าคงที่ (Fix displacement Vane pumps) ใบพัดจะทำหน้าที่กวาดน้ำมันในตัวปั๊มเพื่อสร้างอัตราการไหลให้เกิดขึ้น
- – ปั๊มใบพัดปรับค่าได้ (Variable Displacement Vane pumps) ใบพัดทำหน้าที่แบบเดียวกันแต่ปรับแรงดันได้จากวาล์วจำกัดความดัน และปรับอัตราการไหลด้วยการเปลี่ยนตำแหน่งสกรูให้เหมาะกับประเภทของงาน
3. ปั๊มไฮดรอลิคชนิดลูกสูบ หรือ Piston Pump
ประเภทสุดท้ายถือว่าได้รับความนิยมมากสุดคงไม่ผิดนักด้วยปัจจัยสำคัญคือ กำหนดอัตราการไหลได้ ทนทาน ใช้งานได้ยาวนาน คุ้มค่ากับการลงทุน ประหยัดพลังงานจากวิธีลดการทำงานของมอเตอร์ไฟฟ้าได้สูงสุด 50% เหมาะสำหรับงานที่ใช้แรงดันสูง อัตราไหลเยอะ หลักการสำคัญคือจะมีแผ่น Swash Plate ติดอยู่กับ Shaft ของตัวปั๊ม ซึ่งสามารถเปลี่ยนมุมเพื่อปรับอัตราการไหล
หากคุณเป็นหนึ่งคนที่ต้องมีความเกี่ยวข้องหรือใช้งานปั๊มไฮดรอลิค การรู้จักกับข้อมูลเหล่านี้ย่อมช่วยเพิ่มความรู้และทักษะการใช้งานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ผลลัพธ์ออกมาน่าพึงพอใจ แถมยังลดความเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายในหลายรูปแบบที่ไม่คาดคิดอีกด้วย